top of page

นานาสาระว่าด้วย “คุณภาพ”จากหลักพื้นฐานสู่การปฏิบัติ
จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 108 ตุลาคม-ธันวาคม 2566

Newsletter108P01.jpg
Newsletter108P15.jpg
Newsletter108P16.jpg
Newsletter108P17.jpg
Newsletter108P18.jpg

นานาสาระว่าด้วย “คุณภาพ”จากหลักพื้นฐานสู่การปฏิบัติ

01 "คุณภาพ” คำสั้น ๆแต่คามหมายไม่ธรรมดา

ดร.เยาวลักษณ์ ชาติบัญชาชัย

เมื่่อมืเหตุุการณ์ความเสี่ยงหรือมีความเสียหายเกิดขึ้น เรามักได้อ่านหรือได้ยินว่าสาเหตุุหลักหนึ่งมาจากเรื่องของ “คุณภาพ” ซึ่งเหมือนจะชัดเจนแต่มักไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะเป็นข้อมูลในการจัดการกับประเด็นเพื่อลดผลกระทบและป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ทั้งนี้ เนื่องจากคำว่า “คุุณภาพ”

ไม่ได้มีความหมายในรูปแบบที่เป็นมาตฐานหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนและคงที่ ไม่ว่าจะเป็นบริบทใด (Absolute Meaning) แตุ่จะมีความหมายที่อิงกับบริบทและวัตุถุประสงค์องเรื่องนั้น ๆ ร่วมกับการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ชี้วัดที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในเรื่องดังกล่าว (Relative Meaning) เช่น ความหมายของคำว่า “คุณภาพ” ของเสื้อผ้าที่ใช้ในโรงงาน จะเน้นที่ “ความคงทนและความอดภัย” ทำให้มีการใช้วัสดุที่นทานและการตัดเย็บที่ไม่รุ่มร่ามและฝีเย็บที่ถี่และแน่นหนา ในขณะที่ “คุณภาพ” ของเสื้อผ้าเพื่อให้เช่าสำหรับงานรื่นเริงหรืองานแต่งงาน จะเน้นที่ “ความสวยงาม แก้ปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือขนาดได้ง่ายโดยไม่ทำให้ผ้ามีตำหนิ ทนทานเพียงระดับที่ไม่ทำให้ปริขาดระหว่างสวมใส่ในแต่ละครั้ง” ดังนั้น คำว่า “คุณภาพ” ของวิชาชีพบัญชีย่อมตุ้องมีความหมายในรายละเอียดที่ตุ่างกันตามบทบาทและประเภทของวิชาชีพบัญชี

 

โดยทั่วไปเกณฑ์ชี้วัดคุณภาพที่มีความสำคัญกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในทุกบาทจะไม่ตุ่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์สำหรับผู้บริหารด้านบัญชีการเงิน ผู้ทำบัญชี นักวางระบบบัญชี นักบัญชีบริหาร นักบัญชีภาษีอากร อาจารย์และบุคลากรศึกษาด้านบัญชี ที่ปรึกษาทางวิชาชีพบัญชี ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน หรือผู้มีหน้าที่กำกับดูแล หรืออื่น ๆ เช่น ความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัตุิงาน รวมถึงความรอบรู้ในธุุรกิจ ความโปร่งใส ความเที่ยงธุรรม และไม่อคติ ความเป็นอิสระทั้งทางจิตใจ และเชิงประจักษ์รวมถึงการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการตัดสินใจและการปฏิบัติงาน ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบในผลของงานรวมถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การรักษาความลับ ตุลอดถึงการมีพฤตุิกรรมทางวิชาชีพที่เป็นไปตามความคาดหวังของสาธารณะ ซึ่งตัวอย่างพฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ การมีความเคารพในตนเองและผู้อื่น แต่จะมีเกณฑ์ชี้วัดคุณภาพบางส่วนที่มีระดับความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับบางบทบาท เช่น ความเป็นอิสระที่เป็นพื้นฐานสี่ำคัญของการเป็นผู้ตุรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี และผู้ทำหน้าที่กำกับดูแล

 

ในการดำรงตนและสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพตามที่คาดหวังได้ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงต้องเริ่มจาก (1) การรู้อย่างถ่องแท้ถึงความหมายของ คำว่า “คุณภาพ” ในบริบท บทบาท และวัตถุประสงค์ของงานวิชาชีพของตน ตลอดถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนั้นจึง (2) ระบุและประเมิน “อุปสรรค” ที่จะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานเพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ เช่น ความคุ้นเคยหรือเกรงใจอาจทำให้ขาดความเที่ยงธรรมหรือขาดความเอาใจใส่และสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ การถูกข่มขู่ให้หวาดกลัวทำให้ไม่กล้าทำในเรื่องที่ถูกต้อง สุดท้ายเป็น (3) การวิเคราะห์และระบุมาตรการป้องกันและจัดการกับอุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งแนวทางข้างต้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ไม่เฉพาะกับการระบุวัตถุประสงค์และความเสี่ยงด้านคุณภาพของกิจกรรมต่าง ๆ ในสำนักงานและงานให้บริการวิชาชีพบัญชี เช่น การตอบรับลูกค้าและงานเท่านั้น แต่รวมถึงสามารถใชัประกอบการพิจารณาในการเลือกสมัครงานและตอบตกลงเข้าทำงานด้วย

02 คำว่า “คุณภาพ” เป็นคุุณภาพของใครกัน

นางสุวิมล กุลาเลิศ

ทุกวันนี้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำบัญชี นักบัญชี CFO  ผู้สอบบัญชี นักวางระบบบัญชี คงจะสงสัยกันว่าเหตุใดคำตอบของคำถามที่ถามว่า คำว่า “คุณภาพ” เป็นคุณภาพของใครกัน จึงมีคำตอบที่แตกต่างกันหลากหลายไปามระดับของความมีจรรยาบรรณของแต่ละบุคคล อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้คำตอบที่แสดงถึงความมีคุณภาพแบบมืออาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงไม่เหมือนกัน

อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ CFO บางรายกล่าวว่า จำเป็นต้องตกแต่งตัวเลขของงบการเงินให้มีกำไรเกินจริง เพราะเจ้านายสั่ง ตนเองเสียใจมากที่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสียหายหนัก เนื่องจากเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ผู้ทำบัญชีบางรายกล่าวว่า จำเป็นต้องใช้นโยบายลงบัญชีแบบหลบเลี่ยงภาษี เพราะเจ้านายสั่ง มิฉะนั้นตนเองก็อยู่ในองค์กรนี้ไม่ได้

อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้นักวางระบบบัญชีบางรายกล่าวว่า จำเป็นต้องสร้างระบบบัญชีให้กับกิจการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงประชาชน เนื่องจากเจ้านายสั่ง ตนเองกลุ้มใจมากเพราะไม่ต้องการทำร้ายประชาชนให้สูญเสียเงิน

 

ทุกวันนี้ CFO บางราย ผู้ทำบัญขีบางราย นักวางระบบบัญชีบางราย ปฏิบัติหน้าที่ก็เพียงเพื่อความอยู่รอดของตนเองเท่านั้น หรือคำตอบ
ของทุกคำถามมาลงที่ความเป็นมืออาชีพและจรรยาบรรณได้จืดจางลงจนแทบเหือดหายไป คุณภาพที่ควรมีเพื่อองค์กร เพื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสังคม เพื่อประชาชนส่วนรวม เพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อความยั่งยืนถาวร กลับกลายเป็นความไร้จริยธรรม ไร้จรรยาบรรณ ไร้คุณภาพ จึงถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องฟื้นฟู สร้างใหม่ และยกระดับคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีบัญชีขึ้นมาอย่างจริงจัง ก่อนที่จะสายไป

03 คุุณภาพคือความยั่งยืนของสำนักงานบัญชี

นางสาวศิริรัฐ โชติเวชการ

สำนักงานบัญชีส่วนหนึ่งมักจะเริ่มธุรกิจและพยายามหาลูกค้าด้วยกลยุทธ์การตัดราคาเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า ราคาต่ำสุดที่เคยเห็นคือ ราคาเดือนละ 500 บาท ก็ยังมี คิดดูว่าแค่เงินเดือนเริ่มต้นของพนักงานปริญญาตรีบัญชี ถ้า 15,000 บาท ต้องรับทำถึง 30 รายจึงจะแค่คุ้มทุน ซึ่งจะถามหาคุณภาพในงานที่ทำคงไม่มี ที่เคยพบเจอคือการเอาตัวเลขมาบันทึกใน Excel แทนการบันทึกผ่านระบบบัญชี หรือการยื่นภาษีมักจะไม่ถูกต้องครบถ้วน ผู้ประ กอบการที่หวังจะประหยัด เลือกราคามากกว่าคุณภาพ มักจะจบลงด้วยการต้องจ่ายภาษีและค่าปรับย้อนหลังเป็นจำนวนมหาศาลจนธุรกิจเกือบจะไปต่อไม่ได้ก็จะตระหนักและวิ่งหาสำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพมาทดแทน เป็นแบบนี้เรื่อยไป ดังนั้น ถ้าจะทำธุรกิจสำนักงานบัญชีให้ยั่งยืนจึงต้องทำอย่างมีคุณภาพ และจะน่าเชื่อถือมากขึ้นถ้ามีองค์กรที่เชื่อถือได้ให้การรับรอง นั่นก็คือ โครงการสำนักงานบัญชีคุณภาพ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งนำ Model จากธุรกิจสำนักบัญชีชั้นนำในประเทศญี่ปุ่นมาออกแบบโครงการนี้

 

คุณสมบัติเบื้องต้นของสำนักงานบัญชีที่มีสิทธิ์จะเข้าร่วมโครงการ

- เป็นสำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชีไม่น้อยกว่า 30 ราย และประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

- หัวหน้าสำนักงานต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลายและต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีโดยปฏิบัติงานเต็มเวลา มีประสบการณืด้านการทำบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้ว

- มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี โดยปฏิบัติงานเต็มเวลาอย่างน้อย 1 คน

- มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

- กรณ๊ที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณีซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตามข้อที่ 2 ด้วย

 

สำนักงานบัญชีที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมในโครงการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีสามารถยื่นแบบคำขอรับหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีหรือ Download แบบฟอร์มได้ที่ เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)

04 “คุุณภาพ” ที่วิชาชีพบัญชีต้องการ และผนึกกำลังยกระดับ “คุุณภาพ” เพิ่อวิชาชีพบัญชี

นางวารุณี ปรีดานนท์

คุณภาพที่วิชาชีพบัญชีต้องการครอบคลุมมีหลายด้านเพื่อให้สามารถประสบตวามสำเร็จและยกระดับวิชาชีพนี้ได้ นี่คือคุณภาพหลักที่วิชาชีพบัญชีต้องการ

1. ความสามารถในการจัดการเวลาและการวางแผน:

นักบัญชีต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีได้อย่างดีมาก เพื่อสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบงบการเงินของแต่ละบริษัท

2. ความรอบคอบและความระมัดระวัง:

ความพยายามในการทำงานที่แม่นยำและละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ข้อมูลบัญชีและการเงินถูกต้องตามข้อกำหนดและหลักการทางบัญชี

3. ความคิดริเริ่มและวิเคราะห์:

การมองเห็นและวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อให้มีการตัดสินใจที่มีความเป็นระบบและถูกต้อง

4. ความรู้ทางกฎหมายและข้อบังคับ:

ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงิน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามข้อบังคับและการรายงานที่เกี่ยวข้อง เป็นระบบและถูกต้อง
5. ทักษะการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี:

ความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์บัญชีและเครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี

6. ความสามารถในการจัดการเวลาและการวางแผน:

การสามารถจัดการกับงานหลายอย่างพร้อมกัน และวางแผนการดำเนินงานเพื่อความเรียบร้อยและความสำเร็จของโครงการ

7. ทักษะการสื่อสาร:

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทั้งเขียนและพูด เพื่อแสดงผลการวิเคราะห์บัญชี และข้อมูลการเงินให้กับผู้อื่นในองค์กร
8. ความรับผิดชอบ ความเป็นอิสระ และซื่อสัตย์:

การปฏิบัติงานในลักษณะที่มีความรับผิดชอบ มีความอิสระ และซื่อสัตย์ ต่อทรัพย์สินและข้อมูลทางบัญชี รวมถึงการแสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงิน โดยไม่เกรงใจและเกรงกลัวต่อความสัมพันธ์กับผู้บริหาร

9. คุวามเข้าใจในธุรกิจและมุมมองกว้าง:

การเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรและธุรกิจที่ต้องการให้บริการ และการมองเห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมทางบัญชีและวัตถุประสงค์ธุรกิจ

10. การทำงานเป็นทีม:

ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในทีมหรือกลุ่มงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้ด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

11. ความพร้อมในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง:

ความคล่องแคล่วในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในสายอาชีพและการพัฒนาทักษะใหม่เพื่อความเชื่อมั่นในการประสบความสำเร็จในอนาคต

 

การพัฒนาคุณภาพเหล่านี้ สามารถทำได้ผ่านการศึกษาต่อหรือการอบรมทางวิชาชีพ เป็นต้น อีกทั้งการสะสมประสบการณ์ทำงานในสายอาชีพบัญชีจะช่วยเสริมคุณภาพเหล่านี้อีกด้วย
 

05 “คุุณภาพ” ห้วใจของวิชาชีพบัญชี

นางบุษกร ธีระปัญญาชัย

การทำบัญชีเป็นการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของการดำเนินธุรกิจทุกขนาด เมื่อเกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน แน่นอนว่า "ความเชื่อถือได้" จึงเป็นรากฐานที่สำคัญของการทำบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำบัญชีนั้นมีความน่าเชื่อถือ

"คุณภาพ" จึงเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบวิชาชีพบัญชี กระบวนการทำงานให้มีคุณภาพในการจัดทำบัญชี เริ่มที่การเข้าใจในลักษณะของธุรกิจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้การทำบัญชีสามารถสะท้อนภาพทางการเงินของธุรกิจนั้นได้อย่างชัดเจน ถัดไปคือการเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อสามารถรวบรวมช้อมูล หลักฐาน และเอกสารได้อย่างครบถ้วนถูกต้องจากนั้นต้องสามารถประเมินปัญหาที่มีหรือที่อาจจะเกิดขึ้น(Risk) เพื่อเข้าใจถึงผลกระทบที่มีต่อธุรกิจนั้น และนำข้อมูลที่ได้ก่อนหน้ามาออกแบบกระบวนการ วิธีการ เอกสาร หลักฐานที่ต้องใช้ เพื่อนำไปสู่การวางแนวทาง การตรวจสอบที่ชัดเจน เทคนิคที่ต้องใช้ และเกณฑ์ในการพิจารณา เพื่อให้มีแนวทางและวิธีการทำงานไปสู่ผลสัมฤทธิ์โดยต้องประกอบกับการประยุกต์กับหลักการหรือมาตรฐานทางบัญชีหรือภาษี เพื่อให้การจัดทำบันทึกบัญชีเป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับตามหลักการของสากลและสุดท้ายกำกับดูแล ทบทวน ติดตามอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ เพื่อเท่าทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถได้ข้อสรุปและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ แน่นอนว่าไม่เพียงมีกระบวนการทำงานที่มีคุณภาพเท่านั้น การเปิดใจรับฟังความเห็น ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างใกล้ชิด สอดคล้อง และการเจรจาต่อรองที่ได้ผล ล้วนประกอบกันเป็นการทำงานที่มี "คุณภาพ" ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี อ้างอิง: https://shorturl.asia/7rvEY  

 

06 “ยกระดับคุณภาพของการวางระบบบัญชี” เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กร

รศ. ดร.พรรณนิภา รอดวรรณะ

 

ผลลัพธ์ของการยกระดับคุณภาพของการวางระบบบัญชี คือ การให้ได้ข้อมูลหรือสารสนเทศที่มีคุณภาพในการนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนองค์กรในยุคปัจจุบัน คือ เพื่อความยั่งยืน (Sustainability) ข้อมูลสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 7 กลุ่ม ประกอยด้วย ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน สังคม ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และคู่แข่ง เพื่อให้ข้อมูลครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ การกำกับดูแลกิจการ (Environmental,Social,Governance: ESG) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนได้กำหนดหลักการและแนวคิดการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน (Sustainability Management Process) หลักการของเรื่องนี้ คือ การที่ธุรกิจให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยปกติ มี 5 กระบวนการ กล่าวคือ

กระบวนการที่1

การวิเคราะห์บริบท ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร (Materiality)

กระบวนการที่2

การกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กร (Policy)

กระบวนการที่3

การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร (Strategy)

กระบวนการที่4

การขับเคลื่อนความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติ (Implementation)

กระบวนการที่5

การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน (Disclosure)

อ้างอิง: https://shorturl.asia/SFdOL

07 “วางระบบบัญชีให้มีคุณภาพ” คือ คุณค่าหลักของมืออาชีพการวางระบบบัญชี

รศ.ศรัณย์ ชูเกียรติ

 

คำจำกัดความของมืออาชีพการวางระบบบัญชี (Accounting systematisation Professional) ตามที่คณะกรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการวางระบบบัญชี วาระปี 2563-2566 ได้ให้ไว้ในโครงสร้างหลักสูตรมืออาชีพการวางระบบบัญชี (Open Curriculum Framework) ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี หมายถึง "ผู้ที่มีความรอบรู้ และความเชี่ยวชาญการวางระบบบัญชี มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานอย่างที่คาดหวังโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีไหวพริบในการปฏิบัติงานและการจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่องานที่ต้องทำและต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความมุ่งมั่นตั้งใจและการลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพและมีคุณค่ามีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำรงตนและการปฏิบัติงาน ตลอดถึงมีการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่องให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เศรษฐกิจและสังคม"  บ่งชี้ให้เห็นว่า นอกจากมีคุณสมบัติสำคัญที่พึงมีแล้ว มืออาชีพการวางระบบบัญชีต้องสามารถวางระบบบัญชีให้มีคุณภาพ เพื่อทำให้องค์กรมีระบบบริหารจัดการข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล การกำกับดูแล และการตัดสินใจของผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก โดยระบบบัญชีที่มีคุณภาพและคุณค่านั้น ต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมและความต้องการขององค์กรตั้งแต่ระดับกลยุทธ์จนถึงระดับปฏิบัติการ และสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน รวมถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมอย่างมีจริยธรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและก้าวทันการเปลี่ยนแปลง  

 

08 คณะกรรมการตรวจสอบในมุมมองของคุณภาพการวางระบบบัญชี

นายอนุวัฒน์ จงยินดี

 

คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่อย่างหนึ่งคือการสอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ คณะกรรมการตรวจสอบนอกจากมีสำนักงานตรวจสอบเป็นผู้ช่วยเป็นอิสระขึ้นตรงแล้ว CEO  CFO ทีมบัญชี การเงิน ทีมระบบสารสนเทศ ผู้สอบบัญชีภายนอก และอื่นๆ ก็เป็นส่วนสำคัญทำให้รายงานทางการเงินถูกต้องและเปิดเผยเพียงพอ

 

คณะกรรมการตรวจสอบประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ และจะประเมินบุคคลและทีมที่กล่าวข้างต้นว่ามีคุณภาพ สามารถสร้างคุณค่าให้บริษัทได้อย่างดี คณะกรรมการตรวจสอบไม่ชอบมีวาระหรือเหตุการณ์ที่ Surprise บ่อยๆ โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้าหรือไม่มาหารือกันก่อนการประชุม คุณภาพที่ดีอีกอีกอย่างหนึ่ง ก็คือคุณภาพของการวางระบบบัญชีที่ดี การออกแบบระบบบัญชี การใช้ระบบสารสนเทศที่เหมาะสม ให้มีการ Check and Balance มีระบบควบคุมภายในที่ดี มีคู่มือและทุกคนนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง มีกระบวนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ มีการออกแบบให้บันทึกรายการตามความเป็นจริง มีเอกสารประกอบที่น่าเชื่อถือถูกต้อง มีผู้อนุมัติที่พิจารณาข้อมูลก่อน ออกแบบบันทึกรายการทางกฎหมาย ระเบียบ ที่สำคัญคือ การบันทึกรายการเกี่ยวโยง เกี่ยวข้อง เพือดึงข้อมูลมาทดสอบรายการเกี่ยวโยงให้ง่าย รวดเร็ว เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ การออกแบบระบบที่ดีมีคุณภาพ ช่วยในการตรวจหรือดึงข้อมูลสารสนเทศค้นหาการกระทำทุจริต และเกิดแนวคิดเชิงป้องกัน หรือข้อมูลที่สำคัญมากในขณะนี้ก็คือ การบันทึกข้อมูลต่างๆ ในเรื่อง ESG  ความยั่งยืน เพื่อนำมาเปิดเผยในรายงาน One Report และหรือ Sustainability Report  ผู้สอบบัญชีภายนอกก็ใช้ข้อมูล จากการวางระบบบัญชี สารสนเทศ การบันทึกรายการ ทดสอบ ประมวลผล ออกรายงาน การเปิดเผยตามมาตรฐานวิชาชีพ

 

นี่แหละคือความมั่นใจของคณะกรรมการตรวจสอบต่อการวางระบบที่ดี มีคุณภาพ เพื่อให้บริษัทมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

โดย คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการวางระบบบัญชี วาระ 2563-2566

ดร.เยาวลักษณ์ ชาติบัญชาชัย

นางสุวิมล กุลาเลิศ

นางสาวศิริรัฐ โชติเวชการ

นางวารุณี ปรีดานนท์

นางบุษกร ธีระปัญญาชัย

รศ. ดร.พรรณนิภา รอดวรรณะ

รศ.ศรัณย์ ชูเกียรติ

นายอนุวัฒน์ จงยินดี

Newsletter • Issue 108 Page 15-18

bottom of page